• Open Daily : 11:00AM - 8:00PM

  • Call Center 02-662-3444

SNC Medical Center :

SNC Medical Center

การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีหลักการตรวจวินิจฉัยโรคแบบองค์รวม หมายถึง การนำข้อมูลตัวผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มาพิจารณาหาสาเหตุของโรค

1. อาการเจ็บป่วยทั้งภายในและภายนอก

เมื่อมีภายในย่อมมีภายนอก หมายถึง ภายในร่างกายเกิดพยาธิสภาพ จะแสดงออกมาให้เห็นทางภายนอก

2. อาการเจ็บป่วยของมนุษย์กับธรรมชาติ

ฤดูกาลและภูมิประเทศที่ต่างกันพบโรคเกิดบ่อยหรือความชุกของโรคต่างกัน หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนอย่างฉับพลัน

3. อาการเจ็บป่วยของมนุษย์กับสังคม

เน้นปัจจัยการเกิดอาการเจ็บป่วยจากภาวะจิตใจ เช่น การแข่งขันที่รุนแรง มีภาวะกดดันจิตใจอย่างหนักหน่วง ล้วนส่งผลให้อัตราการเกิดโรคทางด้านจิตใจ

การตรวจวินิจฉัยโรคทางการแพทย์แผนจีน มีหลักการตรวจทุกด้าน เพื่อหาสาเหตุของอาการโรค หมายถึง การตรวจพื้นฐาน 4 ประการ หรือ ซื่อเจิ่น ทั้งสี่นี้ เป็นการหาข้อมูลในมุมมอง การตรวจโรค 4 ด้าน ของแพทย์แผนจีน จึงไม่อาจทดแทนกันได้ ได้แก่

  • 1. การมองดู (ว่างเจิ่น)
  • 2. การฟังและการดมกลิ่น (ทิงเจิ่นเหอเหวินเจิ่น)
  • 3. การถาม (เวิ่นเจิ่น)
  • 4. การจับชีพจรและการคลำ (เชี่ยเจิ่นเหออั๋นเจิ่น)

การวินิจฉัยโรคแต่ละครั้ง ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 นาที ลักษณะชีพจรของคนปกติ คือ การหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ชีพจรจะเต้น 4 - 5 ครั้ง หรือ 72 - 80 ครั้ง / นาที ชีพจรจะอยู่ที่กึ่งกลาง ไม่ลอย ไม่จม ไม่ยาว ไม่สั้น จังหวะการเต้นสม่ำเสมอ ราบรื่น มีแรงสม่ำเสมอ ทั้งตำแหน่ง ชุ่น กวน ฉื่อ ใช้นิ้วกดจมลงหาชีพจรก็ยังมีชีพจรเต้นอยู่

ชีพจรของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับสภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม อายุ เพศ ลักษณะภายนอก (อ้วนหรือผอม) ลักษณะการกินอยู่ และอารมณ์จิตใจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันทั้งสิ้น

หมายเหตุ ใช้การดูและการถามร่วมในการตรวจด้วยกลิ่น หากผู้ป่วยไม่ได้มีแผลเปื่อยบนร่างกาย ในห้องมีกลิ่นเหม็นเน่า แสดงถึงความรุนแรงของโรค กลิ่นแอมโมเนียคล้ายกลิ่นปัสสาวะ พบในผู้ป่วยโรคไต มีอาการบวมในระยะสุดท้าย กลิ่นแอปเปิ้ลเน่า พบในผู้ป่วยเบาหวานและมีอาการหนัก ในสตรีจะสอบถามประวัติประจำเดือนร่วมด้วย เด็กจะสอบถามประวัติการออกผื่น เช่น สุกใส หรือหัด เป็นต้น